category: 

ผมมองเห็นอะไรจากการทำเว็บนิยายออนไลน์ (เล่นๆ) มาเกือบ 5 ปี

อย่างแรกเลยก็คือ ถ้าเว็บไม่สวย ระบบไม่ดีกว่าเจ้าเดิมในตลาด เราจะแข่งขันยาก เพราะอย่าลืมว่าเนื้อหาบนเว็บ หลักๆ เราได้จากนักเขียน ดังนั้นนักเขียนอยู่ไหน คนอ่านก็อยู่นั่น ในทางกลับกันเมื่อมีเนื้อหาเยอะ คนอ่านก็จะไปรวมตัวกันอยู่พื้นที่นั้นด้วยเช่นกัน

ซึ่งอย่าลืมว่า ยิ่งระบบทำความเข้าใจได้ง่ายมากแค่ไหน โดยเฉพาะระบบลงเนื้อหา ระบบขาย ระบบตรวจสอบข้อมูลของนักเขียน รวมถึงระบบการซื้อ ถ้ามันง่าย โอกาสที่เราจะดึงคนมาก็จะเพิ่มขึ้น เพราะเขามองว่าระบบใช้ง่ายกว่าเจ้าเดิม ดีกว่าเจ้าเดิม คนเขาก็จะชักชวนกันมา

category: 

ไปเจอประเด็นหนึ่งในโซเชียล ว่าด้วยเรื่องสำนวนการเขียนของนักเขียน ที่หลายคนมองว่า นักเขียนบางคนใช้คำซับซ้อน หรือยากต่อการทำความเข้าใจ ทำให้ไม่อยากอ่าน และอยากให้นักเขียนหันมาใช้คำง่ายๆ หยาบๆ หรือใช้คำตรงตัวเหมือนนิยายแชท หรือนิยาย NC ตบจูบบางเรื่องไปเลย

ผมมองว่าคิดแบบนั้นก็ไม่ถูก และก็ไม่ผิด แต่อยากให้เข้าใจว่า งานเขียนมันคืองานศิลปะแขนงหนึ่ง ซึ่งคนเราเข้าถึงได้ไม่เท่ากันอยู่แล้ว ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้นการเสพงานของแต่ละคนจึงเข้าถึงได้ไม่เท่ากัน

บางคนเข้าถึงได้แค่เนื้อหาภายนอก เช่นใคร ชื่ออะไร ทำอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร สนุก ไม่สนุก

category: 

เมื่อนักเขียนหลายคนต้องพูดถึงเรื่องการโปรโมทผลงาน สิ่งแรกที่จะนึกถึงก็คงจะเป็นการแชร์ลิงก์สำหรับติดตามผลงานลงไปตามโซเชียลต่างๆ อาทิทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก หรือไลน์

วิธีดังกล่าวนับเป็นอีกวิธีที่ใช้แล้วได้ผล อีกทั้งยังได้รับความนิยม และดำเนินการได้ง่ายที่สุด เพราะแค่พิมพ์ตัวอย่างของงานเขียนบางตอน จากนั้นก็วางลิงก์สำหรับซื้อหรือทดลองอ่านเอาไว้ ตามด้วยโพสต์ลงไปตามกลุ่มต่างๆ เพื่อให้คนอื่นๆ ได้เห็นและกดเข้าไปดูรายละเอียดตามลิงก์